ในทุก ๆ งานเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นงานบวช, งานบุญ, วันพระใหญ่ หรือสงกรานต์ปีใหม่ไทยประจำปี สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยสำหรับความบันเทิงตามชนบทหรือหมู่บ้านต่าง ๆ ในภาคอีสาน ก็คือ “รถแห่” รถ 6 ล้อคันใหญ่ที่มาพร้อมกับนักดนตรีแบบครบวง พร้อมจังหวะเพลงสุดสะเด่า ขับวนไปรอบหมู่บ้านเพื่อเชิญชวนให้ผู้คนทั่วทุกสารทิศออกมาสนุกสนานด้วยกัน
แต่ก่อนจะมาเป็นรถ 6 ล้อคันยักษ์นี้ มันมีที่มาอย่างไร และทำไม “รถแห่” ถึงกลายมาเป็นรู้จักที่ไม่ว่าจะบ้านนอกเมืองไกล หรือบ้านในเมืองกรุง ในฐานะความบันเทิงเบอร์ใหญ่ท่ามกลางกระแสนิยมยุคปัจจุบันสำหรับที่มาที่ไปนั้น ต้องย้อนกลับไปไกลมาก ๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน ผู้คนในภูมิภาคนี้นิยมที่จะเฉลิมฉลองงานรื่นเริงต่าง ๆ ด้วยขบวนแห่ โดยมีคณะลำแคน, ลำเต้ย มาบรรเลง และมีคณะรำทำหน้าที่เซิ้งนำขบวนเดินเท้าไปรอบหมู่บ้าน ซึ่งถ้านึกไม่ออกก็ให้นึกถึงขบวนกลองยาวตามงานบวชหรือขันหมากในภาคกลาง ถ้าจะถามว่ามีมานานขนาดไหน อย่างน้อยต้องสักราว ๆ ช่วงรัชกาลที่ 6 โดยมีหลักฐานเป็นภาพจิตรกรรมหรือที่คนอีสานเรียกว่า “ฮูปแต้ม” ในอุโบสถวัดป่าเลย์ไลย์ จังหวัดมหาสารคาม ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2460 และฮูปแต้มนั้นถูกวาดลงบนผนังในช่วงเวลาไล่ ๆ กันมาถึงปี พ.ศ. 2540 (ปี 1997) คณะ “รถแห่ดาราทอง มิวสิค” ก็ริเริ่มการยกมโหรีทั้งวงขึ้นมาอยู่ท้ายรถกระบะ เพื่อความสะดวกสบายในการบรรเลง และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ก็เริ่มวิวัฒนาการมาเป็นรถ 6 ล้อดัดแปลง แต่งบอดี้ใหม่ทั้งคัน ติดลำโพงดอกโต ๆ ราวกับคอนเสิร์ตติดล้อเลยก็ว่าได้โดยเพลงที่รถแห่นิยมนำมาเล่นกันก็จะแตกต่างไปตามพื้นที่ เช่นอีสานตอนใต้ก็จะเน้นเพลงแนว “กันตรึม” ที่รับแนวทางมาจากฝั่งกัมพูชา ส่วนอีสานตอนกลางก็จะเน้นเล่นแนว “หมอลำ” มาในปัจจุบันก็เริ่มนำเพลงที่อยู่ในกระแสตอนนั้นมาโคพเวอร์ในทำนองที่สนุกสนานขึ้น บ้างก็เป็นเพลงป๊อปร็อกวัยรุ่นของไทย แต่ถ้าใครเล่นท่ายากเรียกกระแสหน่อยก็เอาเพลงสากลมาใส่ทำนองใหม่ไปเลย อย่างที่เคยกลายเป็นไวรัลในโลกโซเชียล และนั่นก็ทำให้ “รถแห่” ได้เข้ามาอยู่ในความสนใจของผู้คนอย่างแพร่หลายสิ่งที่น่าสนใจของรถแห่ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นคนวัยไหน ก็มักอดใจไม่ได้ที่จะวิ่งออกมาโชว์ลีลารอบ ๆ รถแห่กันแบบไม่เกี่ยงวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือแม้แต่เด็กน้อย ส่วนสาเหตุที่ชาวอีสานแทบไม่เคยปฏิเสธรถแห่นั้น มาจากสมัยอดีตที่ภาคอีสานเป็นพื้นที่แห้งแล้งและใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก และเมื่อมีโอกาสได้พักผ่อนหรือสนุกสนาน ก็ต้องตักตวงกันให้เต็มที่และจากจุดนี้นี่เอง เลยทำให้เกิดวลีกึ่งมีมที่ว่า “ขอให้ทุกวันเป็นวันพระใหญ่” ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมาจากคลิป “พากย์นรก Call of Duty 2022” ในแชนแนล “เด้าโจ๊ะ” เจ้าของเดียวกับช่อง “HelloSOYEAH” ที่ชอบเล่นมุกคนอีสานและทำคลิปพากย์นรกเป็นภาษาอีสานบ่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอกย้ำอุปนิสัยรักสนุกของคนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างดีนอกจากในเรื่องความสนุกและความบันเทิงแล้ว การนำรถแห่เข้ามาเล่นในงานเทศกาลงานบุญต่าง ๆ นั้น เป็นเหมือนเครื่องแสดงฐานะและหน้าตาของผู้พามาเล่นด้วย เพราะค่าใช้จ่ายการในการจ้างคณะรถแห่นั้นสูงมาก ๆ ยิ่งรถแห่สมัยใหม่ที่เป็นรถ 6 ล้อก็ไม่ใช่น้อย ๆ ต้นทุนการดัดแปลงและวางระบบรถก็ปาไปแล้วหลักล้าน
เนื้อหาน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง4 สาวสุดป่วน "ATARASHII GAKKO!" โชว์ความปั่นแบบสด ๆ ใน THE FIRST TAKE กับเพลงดังระดับไวรัล "OTONABLUE"
เปิดไลน์อัพศิลปิน(บางส่วน) จาก Grammy RS Concerts เตรียมจัดต่อเนื่อง 3 ปี
แหล่งที่มาhttps://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=33166
https://www.naewna.com/likesara/678226
https://www.youtube.com/watch?v=1B35sfezJ3U
นักเขียน, Gamer และตากล้อง ชอบดื่มเบียร์ IPA และ Whisky... เคยหายไปเขียนเรื่องเหล้ามาหลายปี ในที่สุดก็ได้กลับเข้าวงการสักที..!!!!
รักหมารักแมวรักการเล่นเกม!